EN

บริษัทได้จัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 (The Principles of Good Corporate Governance For Listed Companies, 2017) ของสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและการบริหารองค์กรในการเสริมสร้างการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ และสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดแก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย และเพื่อสร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน

โดยบริษัทได้กำหนดนโยบาย ซึ่งครอบคลุมหลักปฏิบัติ 8 ประการ ซึ่งสามารถสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้

หลักปฏิบัติ 1 : ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน

คณะกรรมการบริษัทเข้าใจบทบาทและตระหนักถึงความรับผิดชอบในฐานะผู้นำที่ต้องกำกับดูแลให้องค์กรมีการบริหารจัดการที่ดี โดยบริษัทได้จัดให้มีกฎบัตรของคณะกรรมการซึ่งกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน ทั้งในการปฏิบัติหน้าที่และกำกับดูแลกิจการของบริษัทและบริษัทย่อยให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ มติที่ประชุมคณะกรรมการและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง ความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกราย รวมถึงมีบทบาทหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการในการบริหารจัดการที่ดีเพื่อให้บริษัทมีความมั่นคงในระยะยาว
  2. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทในการกำกับดูแล และสร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว
  3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทในการกำกับดูแลบุคลากรของบริษัท
  4. ขอบเขตหน้าที่ และความรับผิดชอบ และการการมอบหมายงานของคณะกรรมการบริษัท
  1. การกำหนดและจัดการดูแลเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการ (objectives) เป็นไปเพื่อความยั่งยืน
  2. การกำกับดูแลให้มั่นใจว่าวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตลอดจนกลยุทธ์ของกิจการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการ โดยมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
  1. การกำหนดและทบทวนโครงสร้างคณะกรรมการให้มีความเหมาะสม เพื่อนำพาองค์กรสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักที่กำหนดไว้
  2. การเลือกประธานกรรมการ และการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อให้มีการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ
  3. การกำกับดูแลให้การสรรหาและคัดเลือกกรรมการมีความโปร่งใสและชัดเจน เพื่อให้ได้คณะกรรมการที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมตามที่กำหนดได้
  4. ในการพิจารณาค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัท
  5. การควบคุม ดูแล รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และการจัดสรรเวลาของกรรมการที่เหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่บริษัท และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน
  6. ในการกำกับดูแลให้มีกรอบและกลไกในการกำกับการดำเนินงานของบริษัทย่อยและกิจการอื่นที่บริษัทไปลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ
  7. การจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัททั้งแบบรายคณะและแบบรายบุคคล เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
  8. การส่งเสริมให้กรรมการบริษัทมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของธุรกิจและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนให้กรรมการบริษัทได้รับการเสริมสร้างทักษะ และความรู้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่กรรมการบริษัท
  9. การควบคุมดูแลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และการแต่งตั้งเลขานุการบริษัท เพื่อเป็นการสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญของคณะกรรมการบริษัท
  1. การสรรหาพัฒนาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูงที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย
  2. การกำหนดกรอบและนโยบายสำหรับค่าตอบแทนและการประเมินผลที่เหมาะสมกับบุคลากรในองค์กร
  3. การสร้างความเข้าใจในโครงสร้าง และความสัมพันธ์ของผู้ถือหุ้น ที่อาจจะมีผลกระทบต่อการบริหารและการดำเนินงานของกิจการ
  4. การติดตามและดูแลการบริหารและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และแรงจูงใจที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร
  1. การให้ความสำคัญและการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าแก่ธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างคุณประโยชน์ต่อลูกค้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  2. การติดตามดูแลให้ฝ่ายจัดการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
    โดยสะท้อนอยู่ในแผนดำเนินการ (Operational plan) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกฝ่ายดำเนินการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เป้าหมายหลัก และแผนกกลยุทธ์ของกิจการ
  3. การจัดสรรและการจัดการทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  1. การจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิผล และมีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  2. การจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ
  3. การติดตามดูแลและการจัดการความขัดแย้งของผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นในบริษัท รวมถึงการป้องกันการใช้ประโยชน์อันมิควรในทรัพย์สินข้อมูลและโอกาสของบริษัท และการทำธุรกรรม
    กับผู้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับบริษัทในลักษณะที่ไม่สมควร
  4. การกำกับดูแลให้มีการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นและการสื่อสาร
    ในทุกระดับของบริษัท และต่อบุคคลภายนอกเพื่อให้เกิดการนำไปปฏิบัติได้จริง
  5. การกำกับดูแลให้บริษัทมีกลไกในการรับเรื่องร้องเรียนและการดำเนินการกรณีมีการชี้เบาะแสการทุจริตคอรัปชั่น
  1. การดูแลและรับผิดชอบให้การจัดทำรายงานทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ถูกต้อง เพียงพอ ทันเวลา และเป็นไปตามเหตุการณ์ มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
  2. การติดตามดูแลความเพียงพอของสภาพคล่องทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้
  3. การจัดทำแผน และกลไกในการแก้ไขปัญหาทางการเงิน หากกิจการประสบปัญหาทางการเงิน
  4. การจัดทำรายงานความยั่งยืน ตามความเหมาะสมของบริษัท
  5. การจัดให้มีหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัท
    กับผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย
  6. การส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลของบริษัท
  1. การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของบริษัท
  2. การกำกับดูแลให้การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส และเอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น
  3. การกำกับดูแลให้การเปิดเผยมติที่ประชุม และรายงานการประชุมเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน